จากการที่ “ ปลาหมำ” เป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี นี่เองจึงนำมาตั้งเป็นคำขวัญของอำเภอสองพี่น้อง ที่ว่า “ ชื่อมีคนน้อย อร่อยปลาหมำ เลิศล้ำพระสงฆ์ หลวงพ่อโหน่งพระเครื่อง รุ่งเรืองนาไร่ พระใหญ่โลกรู้ เสภาชั้นครู อู่น้ำอู่ปลา ราชินีนักร้อง สองพี่น้องบ้านเรา ”
นางสาวอำพร จุลสุคนธ์ หรือป้าพร ประธานกลุ่มปลาหมำบ้านแม่พระประจักษ์ ได้ซึมซับการทำปลาหมำ มาตั้งแต่ยังเด็ก เนื่องจากทางบ้านทำปลาหมำเป็นประจำอยู่แล้ว สำหรับแลกเปลี่ยนสินค้าดังที่กล่าวข้างต้น และต่อมาในระยะหลังจึงได้ผลิตให้ได้ปริมาณมากขึ้น เพื่อจำหน่าย และยึดเป็นอาชีพจนกระทั่งในปัจุบัน
และจากการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ. 2549 (OTOP Product Champion) กลุ่มปลาหมำบ้านแม่พระประจักษ์ ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ระดับสี่ดาวซึ่งเป็นรางวัลที่รับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์ปลาหมำบ้านแม่พระประจักษ์ได้เป็นอย่างดี
เอกลักษณ์ของปลาหมำ บ้านแม่พระประจักษ์ คือ ปลาที่จะนำมาทำปลาหมำนั้น จะใช้ปลาช่อน หรือ ปลาชะโด และจะต้องเป็นปลาสดเท่านั้น ในการผลิตที่ใส่ข้าวคั่วเพื่อให้หอม และเนื้อปลาไม่ติดกัน และใส่สับปะรดเพื่อให้เนื้อปลานุ่ม ลดความเค็ม รสชาดกลมกล่อม ปลาหมำ ต่างจาก ปลาร้า คือ
- ปลาร้า ใช้วิธีการหมักทั้งตัวปลา ไม่มีการแร่ก้างออก
- ปลาร้า ใช้วิธีการหมักทั้งตัวปลา ไม่มีการแร่ก้างออก
- ปลาหมำ เป็นอาหารของชาวญวน ใช้ปลาช่อน หรือ ปลาชะโด ที่สดเท่านั้น และการผลิตจะต้องแร่ก้างออก และแร่เนื้อปลาเป็นชิ้นบางๆ เล็กๆ ก่อนที่จะหมัก
ส่วนประกอบการผลิต
1.ปลาช่อน หรือ ปลาชะโด สดๆ
2.เกลือ
3.ข้าวคั่ว
4.สับประรด
1.ปลาช่อน หรือ ปลาชะโด สดๆ
2.เกลือ
3.ข้าวคั่ว
4.สับประรด
ขั้นตอนการผลิต
1. นำปลาช่อน หรือ ปลาชะโด มาขอดเกล็ด (ซื้อปลาจากในตำบล หรือจากที่มีผู้นำมาขาย)
2. แร่ปลาเพื่อเอาก้างออก
3. ล้างน้ำให้สะอาดและผึ่งปลาให้แห้งเพื่อเตรียมใส่เกลือ
4. คลุกเคล้าเกลือให้เข้าเนื้อปลา และนำไปบรรจุใส่โอ่งหรือ ภาชนะที่เตรียมไว้ หมักไว้นาน 1-2 เดือน
5. นำปลาที่หมักเกลือนาน 1 -2 เดือน ออกมาล้างน้ำให้สะอาดและผึ่งให้แห้ง โดยทิ้งไว้ 1 คืน
6. นำปลามาหั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ บางๆ และใส่กระสอบเอาหิน หรือของหนักๆ ทับไว้ เพื่อให้เนื้อปลาแห้งสนิท และทิ้งไว้อีก 1 คืน
7. นำเนื้อปลาที่ทับจนแห้งเทใส่กะละมัง และคลุกเคล้าด้วยข้าวคั่ว
8. นำเนื้อปลาที่คลุกข้าวคั่วบรรจุใส่โอ่ง อีกครั้ง ปิดฝา โอ่งให้แน่น นำเกลือ โรยปากโอ่ง ใช้กาบไผ่ ขัดให้แน่น ทิ้งไว้อีกประมาณ 4-5 เดือน
9. หลังจากหมักครบ 4 – 5 เดือน นำเนื้อปลาออกมาใส่สับปะรดและหมักต่ออีก 1 – 2 เดือน
การทำปลาหมำให้อร่อย จะต้องใช้ปลาช่อน หรือ ปลาชะโดที่สดๆ เท่านั้น หากนำปลาที่ตายมานานแล้ว จะทำให้ปลาหมำนั้นไม่อร่อย และ การใส่สับปะรดลงไปหมักเพื่อลดความเค็ม และเพิ่มรสชาด ให้กลมกล่อม อร่อยมากยิ่งขึ้น
การจำหน่ายอยู่ที่ทำการกลุ่ม : เลขที่ 9 หมู่ 4 ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี 72110 ติดต่อ : นางสาวอำพร จุลสุคนธ์ โทร. : 0-3554-2213 08-6805-1933
การจำหน่ายอยู่ที่ทำการกลุ่ม : เลขที่ 9 หมู่ 4 ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี 72110 ติดต่อ : นางสาวอำพร จุลสุคนธ์ โทร. : 0-3554-2213 08-6805-1933
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น